การทดสอบสารอาหาร
คาร์โบไฮเดรต : มี 2 วิธี
1. ใช้สารละลายไอโอดีน ทดสอบคาร์โบไฮเดรตโมเลกุลใหญ่ (Polysaccharide)
2. ใช้สารละลายเบเนดิกต์ ทดสอบน้ำตาล
* ยกเว้น ซูโครส(น้ำตาลทราย) ต้องต้มกับกรดเจือจางก่อน
โปรตีน : มี 2 วิธี
1. ใช้วิธีไบยูเร็ต
2. ใช้กรดไนตริกเข้มข้น
ไขมัน : มี 2 วิธี
1. การทดสอบทางกายภาพ เพื่อทดสอบภาวะโปร่งแสง เนื่องจากโมเลกุลของไขมันจะเข้าไปแทนที่โมเลกุลของอากาศเมื่อนำน้ำมันไปทาบนกระดาษ และไขมัน มีดัชนีหักเหของแสงน้อยกว่าอากาศ จึงทำให้เกิดภาวะโปร่งแสงขึ้น
2. การทดสอบคุณสมบัติทางเคมี สามารถทำได้โดยนำไขมันไปต้มกับสารละลายด่าง เช่น NaoH จะได้สารประกอบชนิดใหม่ ซึ่งมีลักษณะลื่นเหมือนด่าง แต่มีฟองมากมายเมื่อขยี้ (สบู่)
วิตามิน C :
โดยใช้น้ำแป้งมาหยดสารละลายไอโอดีน (ได้สีน้ำเงิน) เป็นตัวทดสอบ โดยนำสารอาหารที่สงสัยว่ามีวิตามินซี มาหยดลงไป โดยถ้าสีน้ำเงินจางหายไป แสดงว่ามี วิตามินซี ( จำนวนหยดน้อย มีวิตามินซีมาก จำนวนหยดมาก มีวิตามินซีน้อย )
น้ำ :
ใช้จุนสีสะตุ (Anhydrus Copper Sulphate) ซึ่งมีสีขาว ถ้าถูกน้ำจะเปลี่ยนเป็นสีฟ้า ถึงน้ำเงิน